เมนู

อรรถกถาจังกมสูตรที่ 5



พึงทราบวินิจฉัยในจังกมสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้.
บทว่า ปสฺสถ โน แปลว่า ท่านเห็นหรือไม่. บทว่า สพฺเพ
โข เอเต
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งพระสารีบุตรเถระ
ไว้ในเอตทัคคะ ในบรรดาภิกษุผู้มีปัญญาว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุสาวกของเรา ผู้มีปัญญามาก คือพระสารีบุตร เป็นยอด. พวก
ภิกษุผู้มีปัญญามาก ย่อมห้อมล้อมพระเถระนั้น ด้วยคิดว่า เราจักถาม
ปัญหาอันลึกซึ้ง ที่กำจัดไตรลักษณะได้แล้ว ในลำดับขันธ์ ธาตุ อายตนะ
สติปัฏฐาน และโพธิปักขิยธรรม ด้วยประการฉะนี้. แม้พระเถระนั้น
ย่อมตอบปัญหาที่เขาถามแล้วและถามแล้วแก่พวกภิกษุเหล่านั้น เหมือน
แผ่ซึ่งแผ่นดิน เหมือนยกทรายจากเชิงภูเขาสิเนรุ เหมือนทำลายภูเขา
จักรวาล เหมือนยกภูเขาสิเนรุขึ้น เหมือนขยายอากาศให้กว้างขวาง เเละ
เหมือนให้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สพฺเพ โข เอเต ภิกฺขเว ภิกฺขู มหปญฺญา"
ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งพระมหาโมคคัลลานะไว้ในเอตทัคคะ
ในบรรดาภิกษุผู้มีฤทธิ์ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสาวกของเรา
ผู้มีฤทธิ์ คือโมคคัลลานะ เป็นยอด. พวกภิกษุผู้มีฤทธิ์ ย่อมห้อมล้อม
พระเถระนั้น ด้วยคิดว่า เราจักถามซึ่งบริกรรม อานิสงส์ อธิษฐาน
การกระทำต่าง ๆ ด้วยประการฉะนี้. แม้พระเถระนั้น ตอบปัญหาที่เขา
ถามแล้วและถามแล้วแก่ภิกษุเหล่านั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วแล. เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สพฺเพ โข เอเต ภิกฺขเว
ภิกฺขู มหิทฺธิกา
ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งแม้พระมหากัสสปะไว้ในเอตทัคคะ
ในบรรดาภิกษุผู้ธุตวาทะว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสาวกของเรา
ผู้เป็นธุตวาทะ คือมหากัสสปะ เป็นยอด. พวกภิกษุผู้ธุตวาทะ ย่อม
ห้อมล้อมพระเถระนั้น ด้วยคิดว่า เราจักถามซึ่งการบริหารธุดงค์ อานิสงส์
การสมาทาน การอธิษฐาน ความต่างกัน ด้วยประการฉะนี้. แม้พระ
เถระนั้น ได้ตอบปัญหาที่เขาถามแล้วและถามแล้ว ให้แจ่มแจ้งอย่าง
นั้นเหมือนกัน แก่ภิกษุเหล่านั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า สพฺเพ โข เอเต ภิกฺขเว ภิกฺขู ธุตวาทา" ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งแม้พระอนุรุทเถระไว้ในเอตทัคคะ
ในบรรดาภิกษุผู้มีทิพยจักษุว่า " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สาวก
ของเรา ผู้มีทิพยจักษุ คืออนุรุทธะ เป็นยอด. พวกภิกษุผู้มีทิพยจักษุ
ย่อมห้อมล้อมพระเถระนั้น ด้วยคิดว่า เราจักถามซึ่งบริกรรม อานิสงส์
อุปกิเลสของภิกษุผู้มีทิพยจักษุด้วยประการฉะนี้. แม้พระเถระนั้น ย่อม
ตอบปัญหาที่เขาถามแล้วและถามแล้วอย่างนั้นเหมือนกัน แก่ภิกษุเหล่านั้น.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สพฺเพ โข เอเต
ภิกฺขเว ภิกฺขู ทิพฺพจกฺขุกา
" ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งแม้พระปุณณเถระไว้ในเอตทัคคะใน
บรรดาภิกษุผู้เป็นพระธรรมกถึกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสาวกของเรา
ผู้ธรรมกถึก คือปุณณมันตานีบุตร เป็นยอด. พวกภิกษุผู้ธรรมกถึก ย่อม
ห้อมล้อมพระเถระนั้น ด้วยคิดว่า เราจักถามอาการนั้น ๆ ในความย่อ

พิสดาร ยากง่าย และ ถ้อยคำไพเราะเป็นต้น แห่งธรรมกถาด้วยประการ
ฉะนี้ แม้พระเถระนั้น ย่อมบอกนัยธรรมกถานั้น อย่างนี้ แก่ภิกษุ
เหล่านั้นว่า ผู้มีอายุ ธรรมดาพระธรรมกถึก ควรเริ่มต้นการพรรณนาคุณ
บริษัท ในท่ามกลางควรประกาศสุญญตธรรม ที่สุดควรถือเอายอดด้วย
อำนาจสัจจะ 4 เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สพฺเพ โข
เอเต ภิกฺขเว ภิกฺขู ธมฺมกถิกา
" ดังนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดังแม้พระอุบาลีเถระไว้ในเอตทัคคะ
ในบรรดาภิกษุผู้ทรงวินัยว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสาวกของเรา
ผู้ทรงวินัย คืออุบาลี เป็นยอด. พวกภิกษุผู้ทรงวินัย ย่อมห้อมล้อมพระเถระ
นั้น ด้วยคิดว่า เราจักถามอาบัติหนัก อาบัติเบา อาบัติแก้ไขได้ แก้ไข
ไม่ได้ อาบัติและอนาบัติด้วยประการฉะนี้. แม้พระเถระนั้น ย่อมตอบ
ปัญหาที่เขาถามแล้วและถามแล้ว แก่ภิกษุเหล่านั้น อย่างนั้นเหมือนกัน.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สพฺเพ โข เอเต
ภิกฺขเว ภิกฺขู วินยธรา
ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งแม้พระอานนทเถระไว้ในเอตทัคคะใน
บรรดาภิกษุผู้พหูสูตว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสาวกของเรา ผู้พหูสูต
คืออานนท์ เป็นยอด. พวกภิกษุพหูสูต ย่อมห้อมล้อมพระเถระนั้น
ด้วยคิดว่า เราจักถามความรู้ในพยัญชนะ 10 อย่าง เหตุเกิด อนุสนธิ
เบื้องต้นและเบื้องปลายด้วยประการฉะนี้. แม้พระเถระนั้น ก็บอกเรื่อง
ทั้งปวงแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า นี้ควรว่าอย่างนี้ นี้ควรถือเอาอย่างนี้. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สพฺเพ โข เอเต ภิกฺขเว
ภิกฺขุ พหุสฺสุตา
" ดังนี้.

ส่วนเทวทัตปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ. เพราะเหตุนั้น
พวกภิกษุผู้ปรารถนาลามก ห้อมล้อมเทวทัตนั้น ด้วยคิดว่า เราจักถามการ
ปกครอง เพื่อการสงเคราะห์ตระกูล ความหลอกลวงมีประการต่าง ๆ กัน.
แม้เทวทัตนั้น ก็บอกการกำหนดนั้นแก่ภิกษุเหล่านั้น. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สพฺเพ โข เอเต ภิกฺขเว ภิกฺขู
ปาปิจฺฉา
ดังนี้. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ภิกษุเหล่านั้น จงกรมแล้ว
ในที่ไม่ไกล. ตอบว่า เพื่อถือการอารักขาว่า เทวทัต คิดร้ายในพระ
ศาสดา พยายามจะทำความฉิบทายมิใช่ประโยชน์. ถามว่า ครั้งนั้น เทวทัต
จงกรมแล้ว เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพื่อปกปิดโทษอันตนกระทำแล้ว เป็น
เหตุให้ผู้อื่นรู้ว่า ผู้นี้ไม่ทำ ถ้าทำเขาก็ไม่มา ณ ที่นี้. ถามว่า ก็เทวทัต
เป็นผู้สามารถเพื่อจะทำความเสียหายต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้หรือ หน้าที่
ต้องอารักขาพระผู้มีพระภาคเจ้า มีอยู่หรือ. ตอบว่า ไม่มี. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อานนท์ ข้อที่ตถาคต พึงปรินิพพาน
ด้วยความพยายามของผู้อื่น นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสจะมีได้. ส่วน
ภิกษุทั้งหลายมาแล้วด้วยความเคารพในพระศาสดา. เพราะเหตุนั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้แล้ว จึงรับสั่งให้ปล่อยภิกษุเหล่านั้นไป
ด้วยพระดำรัสว่า อานนท์ เธอจงปล่อยภิกษุสงฆ์เถิด ดังนี้.
จบอรรถกถาจังกมสูตรที่ 5

6. สตาปารัทธสูตร

1

ว่าด้วยสัตว์คบค้าสมาคมกันโดยธาตุ



[368] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย . . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวก
ที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัย
เลว แม้ในอดีตกาล . . . แม้ในอนาคตกาล . . . แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวก
ที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัย
เลว.
[369] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คูถกับคูถย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้
มูตรกับมูตรย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ เขฬะกับเขฬะย่อมเข้ากันได้ ร่วม
กันได้ บุพโพกับบุพโพย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ โลหิตกับโลหิตย่อม
เข้ากันได้ ร่วมกันได้ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายก็
ฉันนั้นแล ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวก
ที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัย
เลว แม้ในอดีตกาล . . . แม้ในอนาคตกาล. . . แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์
ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือจำพวกที่มี
อัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว.

1. ม. สคาถาสูตร.